ในการก่อสร้างโครงการหนึ่งๆ จะเกิดการรวมตัวกันของหลายฝ่าย เพื่อสร้างสรรค์ให้โครงการนั้นๆ ดีที่สุด ในด้านที่แต่ละฝ่ายมีความรู้ความสามารถ ไม่ว่าจะเป็น สถาปนิก วิศวกรโครงสร้าง วิศวกรงานระบบประกอบอาคาร ภูมิสถาปนิก เจ้าของโครงการ และที่ปรึกษาโครงการในด้านอื่นๆอีกมากมาย ตามแต่ชนิดของโครงการ ทั้งนี้ เดิมทีการพูดคุยกันจะเกิดจากการนำข้อมูลของแต่ละฝ่ายมาประสานงานกัน แลกเปลี่ยนข้อมูลในหลากหลายสื่อกลางและรูปแบบ โดยอาจเป็นในรูปแบบ 2 มิติ, 3 มิติ ข้อความหรือแม้กระทั่งการสื่อสารกันปากเปล่า ซึ่งการประสานงานกันแบบเก่านั้นความคลาดเคลื่อนอาจจะเกิดได้ทั้งจากการเข้าใจสารไปในคนละทิศทาง การหยิบใช้ชุดข้อมูลคนละชุดกัน หรือแม้แต่การสื่อสารที่ไม่มีประสิทธิภาพระหว่างทีม ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้ งานที่ออกมาจากแต่ละฝ่ายมีความขัดแย้งหรือไม่สอดคล้องกันเกิดขึ้นได้

กระบวนการทำงานด้วย BIM หรือ Building Information Modeling เป็นการทำงานโดยใช้เครื่องมือเดียวกันในการผลิตทั้ง 2D และ 3D เพื่อทำให้แบบ 2 มิติที่ถูกนำไปใช้มีความสอดคล้องกับ 3D ที่ฝ่ายอื่นมองเห็นและเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันทั้งโครงการ โดย BIM ที่วงการก่อสร้างในประเทศไทยคุ้นเคยคงจะหนีไม่พ้นโปรแกรม Revit ซึ่งเป็น BIM จากค่าย Autodesk โดยผู้ออกแบบทุกฝ่ายจะทำงานผ่านโปรแกรม Revit บน Cloud Platform เดียวกัน เพื่อให้การสื่อสารของมูลระหว่างทีมเกิดขึ้นบนสื่อกลางตัวเดียวกัน ในเวอร์ชั่นที่ตรงกันทุกฝ่าย และเป็นปัจจุบันที่สุด แต่ถึงแม้ว่าทุกฝ่ายจะทำงานบน Platform และ ข้อมูลชุดเดียวกันแล้วแต่อาจจะยังเกิดความขัดแย้งระหว่างแต่ละฝ่ายหรือบางประเด็นที่อาจถูกมองข้ามได้ BIM Manager จึงได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในกระบวนการนี้

BIM Manager คือบุคคลหรือฝ่ายที่จะนำ Model จากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง มา Combine กัน เพื่อตรวจสอบความขัดแย้งของ Model จากแต่ละฝ่าย รวมถึงควบคุมมาตรฐานของ Model วิธีการจัดทำ และ ผลลัพท์ที่จะได้รับจากกระบวนการ BIM ใน Phase ต่างๆของโครงการ ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการนำ Model ไปใช้ต่อไปของเจ้าของโครงการ หรือฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้อง

โดยการตรวจสอบความขัดแย้งของ Model ที่นำมา Combine จะมีวิธีการตรวจสอบต่างๆกันไปตามแต่ประเด็นที่สนใจดังนี้

Visual Check คือการตรวจสอบการขัดแย้งการของ Model หรือการออกแบบที่ไม่ได้เกิดจากการขบกันของวัตถุ หรือ เป็นการตรวจสอบความครบถ้วน ถูกต้อง ของโมเดลในแต่ละฝ่ายเอง โดยเป็นการตรวจสอบแบบ Manual เช่นแนวท่องานระบบที่เดินอยู่ในโถงทางเดิน ทำให้ทางเดินมีความสูงต่ำกว่า 2.10 เมตรตามกฎหมาย การตรวจความขัดแย้งในลักษณะนี้ ทาง BIM Maanger ต้องมีความรู้ ความเข้าใจในประเด็นที่ต้องการตรวจสอบและจุดที่อาจจะเกิดประเด็นเหล่านั้นขึ้นได้ เป็นต้น

Clash Detection คือการตรวจสอบการขบกันของวัตถุโดยใช้ Program Computer เพื่อช่วยในการหาแนว ตำแหน่ง ระยะ หรือขนาด ที่ขัดแย้งกันของวัตถุ ตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป เช่น แนวท่องานระบบชนแนวคานโครงสร้าง เป็นต้น โดยการตรวจในลักษณะนี้ BIM Manager ต้องกำหนด คู่ Clash หรือ วัตถุสองชิ้นที่เมื่อชนกันแล้วจะเกิดเป็นประเด็นปัญหาเพื่อให้ Computer การชนกันของของที่อยู่ในเงื่อนไขที่กำหนดออกมาให้

การ Combine และการตรวจสอบ Model ตามที่กล่าวไปข้างต้นนอกจากจะช่วยลดความขัดแย้งของแบบจากผู้ออกแบบแต่ละฝ่าย ยังช่วยให้เจ้าของโครงการหรือผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในโครงการนั้นๆ เห็นภาพชัดเจนกว่าการอธิบายด้วยปากเปล่า หรือการดูในแบบ 2 มิติ และเข้าใจในประเด็นต่างๆที่มีปัญหาได้อย่างรอบด้าน อันจะนำไปสู่การตัดสินใจในการแก้ปัญหาตั้งแต่ช่วงของการออกแบบ อีกทั้งการ Combine Model จากทุกฝ่ายเป็นเสมือนการจำลองการก่อสร้างจริงในคอมพิวเตอร์ก่อน เพื่อให้ทุกปัญหาที่เจอได้รับการแก้ไขและตัดสินใจ ทำให้ในการก่อสร้างจริงสามารถลดได้ทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากปัญหานั้นๆ ที่ถูกพบในภายหลังอีกด้วย

WRITER
thongchad chinasi
Managing Director
Smart City Innovation ในมุมมองของ CIC; Construction Industry Council : Hong Kong...
Jun 13, 2024
ISO 19650 เป็นมาตรฐานสำหรับการจัดการข้อมูล ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ของโมเดล ที่สร้าง...
Jun 13, 2024
หากเจ้าของโครงการมีการใช้กระบวนการ BIM อย่างเป็นปกติอยู่แล้ว บทความนี้จะเป็นแนวท...
Jan 21, 2024
Clash detection process ในอาคาร CUP (Central Utility Plant) ที่จริงๆ แล้วประเภทอ...
Jan 20, 2024
ISO19650 เป็นมาตรฐานระดับสากล ที่ให้แนวทางในการจัดการข้อมูลตลอดวงจรการก่อสร้างโ...
Jan 17, 2024
Most Popular
ISO19650 เป็นมาตรฐานระดับสากล ที่ให้แนวทางในการจัดการข้อมูลตลอดวงจรการก่อสร้างโครงการโดยใช้ Building Information Modeling (BIM), ISO 19650 ประกอบด้วย 2 ส่วน : ISO 19650-1 และ ISO 19650-2.