Benefits of BIM for Hospital Project : เมื่อโรงพยาบาล ต้องการ BIM
ในประเภทของอาคารที่ต้องการงานระบบที่ซับซ้อน และส่งผลโดยตรงต่อผู้ใช้งานอาคาร ขนาดอาคารขนาดใหญ่ ต้องการการสนับสนุนด้านสาธารณูปโภคอยู่ตลอดเวลา - จากประสบการณ์ที่พบในอาชีพ BIM Manager, Hospital BIM, Digital Model ในโครงการโรงพยาบาล จำเป็นที่สุด
โรงพยาบาลเป็นโครงการที่ต้องมีงานระบบหล่อเลี้ยงอย่างเต็มประสิทธิภาพตลอด 24 ชั่วโมง เมื่อเกิดเหตุการณ์ขัดข้องจำเป็นต้องถูกแก้ไขอย่างเร็วที่สุด ความเสี่ยงต่างๆ ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับชีวิต และการทำงานของผู้ใช้งานอาคารทั้งสิ้น
งานระบบของโครงการโรงพยาบาล ที่พิเศษกว่าอาคารขนาดใหญ่ทั่วไป นอกจาก HVAC, EE, ICT, Sanitary, Water Supply แล้ว ยังต้องมีงานระบบพิเศษอื่นๆ ได้แก่
- Medical gas System
- Fuel System
- Pneumatic Tube System
- Fire Fighting System
- Vertical Transportation
จากบทความเรื่องการออกแบบงานระบบโรงพยาบาลของบริษัท มิตร เทคนิคคัล คอนซัลแทน อธิบายไว้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับการออกแบบโรงพยาบาลที่ต้องคำนึงถึง เรื่องการออกแบบเพื่อการจัดการเชื้อโรค Infection Control and HVAC เพื่อป้องกัน การแพร่เชื้อของเชื้อโรค ซึ่งมีหลายช่องทางในการแพร่เชื้อ เช่น โรควัณโรค เชื้อไข้วัดใหญ่ สามารถแพร่เชื้อได้ทางอากาศและสภาวะที่อากาศเย็น โดยต้องดำเนินการตามหลักเกณท์ดังต่อไปนี้
- การออกแบบ Air changed เพื่อลดปริมาณของเชื้อที่อยู่ในอากาศ
- การเลือกระบบกรองเพื่อเอาเชื้อออกจากอากาศ
- การใช้รังสี UVGI (Ultra Violet Germicidal Irradiation) ทำการฆ่าเชื้อโรค และลดการเติบโตของเชื้อโรคบางชนิด
- การควบคุมแรงดันอากาศ ในห้องต่างๆ ให้แรงดันเคลื่อนที่จากห้องสะอาดที่สุดไปยังพื้นที่ห้องสะอาดน้อยกว่าและไปยังพื้นที่สกปรกต่อไป
- การควบคุมอุณหภูมิและความชื้น เพื่อลดการแพร่พันธ์ของเชื้อโรคบางตัว
- ต้องออกแบบระบบระบายอากาศ 100% สำหรับพื้นที่ที่มีความเสี่ยงและต้องควบคุมเพื่อเอาละอองออกไปจากพื้นที่
- การออกแบบการกระจายของระบบปรับอากาศเป็นพื้นที่ ไม่ออกแบบระบบปรับอากาศแบบใช้ห้องรวมจ่ายทั้งพื้นที่
- การออกแบบระบบปรับอากาศให้มีระบบเติมอากาศและมีระบบการกรองที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณ PM 2.5 และแรงดันลมตรงทางเข้าต้องเป็นบวก
งานระบบที่จำเป็นเหล่านี้ ต้องการพื้นที่ และต้องการ Duct สำหรับส่งลมขนาดใหญ่ ซึ่งพื้นที่หน้าตัดเหล่านี้เป็นส่วนใหญ่ที่ Clash กับงานระบบต่างๆ ด้วยกันเองและโครงสร้างอีกด้วย เนื่องจากเป็นระบบที่จำเป็น การย้าย หรือขยับงานระบบอื่นๆ จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ระยะเวลาและคุณภาพของการออกแบบจึงใช้นานมาก และกำลังคน ค่อนข้างมากในการเคลียร์ก่อนไปถึงมือผู้รับเหมา เพราะหากปล่อยไป ก็จะทำให้ไปเสียเวลาในช่วงของการก่อสร้าง (Construction Period) ซึ่งสร้างความเสียหายได้มากกว่าไปอีก
ระบบ GAS จะเป็นระบบที่สำคัญอีกระบบเพราะเป็นระบบ GAS ที่ต้อง ใช้ในการช่วยชีวิตและใช้ในการรักษาผู้ป่วย ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วย GAS ได้แก่ Oxygen, Medical Air, Surgical Air, Vacuum/Suction Air, Nitrous Oxide, Helium / Oxygen, Nitrogen, Carbon Dioxide, Gas Scavenging System (AGSS)
ที่ HOOK มีการสร้าง Clash Set - Clash Matrix ที่เกี่ยวข้องกับงาน ระบบเหล่านี้ขึ้นมาโดยเฉพาะ เพื่อให้การตรวจสอบด้วย Software มีมาตรฐาน และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด ดังนี้
Revit Categories |
Clash Type |
Priority |
---|---|---|
Structural Elements |
Duct Systems |
High |
Duct Systems |
Piping Systems |
High |
Gas Systems |
Duct Systems |
High |
Gas Systems |
Piping Systems |
High |
Duct Systems |
Structural Elements |
Medium |
Piping Systems |
Structural Elements |
Medium |
Structural Elements |
Piping Systems |
Medium |
Electrical System
การออกแบบระบบไฟฟ้าสำหรับโรงพยาบาล ต้องมีความน่าเชื่อถือ มีการสำรองไฟฟ้าอย่างเพียงพอ ทั้งไฟฟ้าจากการไฟฟ้า และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ดังนั้นระบบ UPS และ Isolated Transformer สำหรับห้องที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้ในการออกแบบด้วย เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและผู้ที่รักษา ความต้องการพื้นที่ของห้องงานระบบ และการเดินท่อจำเป็นอย่างมาก ดังนั้น การออกแบบ Clash Matrix ในกระบวนการ BIM จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
Pneumatic tube System or Traveller System
ระบบที่ใช้ในการส่งเอกสาร ผลเลือด หรือสิ่งเล็กๆต่างๆที่ใช้การส่งจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ซึ่งการออกแบบปัจจุบันก็มีระบบอยู่ 2 ระบบซึ่งข้อดีข้อเสียจะแตกต่างกัน และปัญหาการติดตั้งก็แตกต่างกัน
Fire Protection System
ระบบการออกแบบการป้องกันเรื่องเพลิงไหม้ในอาคารจะต้องดำเนินการออกแบบทั้ง Passive and Active System ซึ่งในการออกแบบระบบนี้ในนั้นส่วนใหญ่จะอ้างอิงการออกแบบตามมาตรฐาน NFPA
Vertical Transportation System
การ Clash Detection งานระบบ Lift สำหรับโรงพยาบาลนั้น ส่วนสำคัญสามารถจำแนก Lift ออกได้ดังนี้
General Passenger Lift
ในการออกแบบ Lift ชนิดนี้นั้น สำหรับผู้โดยสารทั่วไปและต้องออกแบบ Lift ให้เหมาะสมกับการใช้งานของคนพิการด้วย ซึ่งจะไม่ให้มีการใช้งานร่วมกันกับ Bed Lift Service and Good Lift ในการออกแบบต้องคำนึงถึงเรื่องการแยกของ Lift Lobby ด้วยว่าจะต้องแยกจากกัน เพื่อป้องกันการใช้งานที่ไม่เหมาะสมและเกิดการผิดพลาดในการใช้งาน
Bed lifts
ใช้สำหรับขนส่งผู้ป่วย เตียงผู้ป่วย พร้อมด้วยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และหมอหรือพยาบาลที่เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้าย ขนาดในการออกแบบไม่ควรเล็กกว่า 1,000 kg และขนาดกว้างไม่น้อยกว่า 1,400 mm และยาวไม่น้อยกว่า 1,800 mm
Service and Goods Lift ควรต้องออกแบบให้ Lift มีทั้ง Lift สะอาดและ Lift สกปรกใช้ในการขนย้ายที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งขนาดของ Lift ไม่ควรมีขนาดที่น้อยกว่า 2,500 kg
Fire Fighting Lift จะต้องออกแบบ Lift สำหรับการหนีไฟและใช้ในการดับเพลิงอย่างน้อย 1 ตัว แนะนำให้ออกแบบเป็น Bed Lift เนื่องจากเพื่อใช้ในการอพยพการหนีไฟของผู้ป่วยติดเตียงที่ไม่สามารถเคลื่อนทีได้ และ Lift ทั้งหมดจะต้องออกแบบให้รับไฟฟ้าจาก Generator เท่านั้น
ระบบต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่อาศัยการลงทุนที่ค่อนข้างสูง การออกแบบที่ดีจะทำให้ ฟังก์ชั่นการใช้งานของอาคารดึงเอาศักยภาพของงานระบบมาใช้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากนี้จะเกี่ยวข้องกับ การ Combine BIM Model ที่ช่วยให้ผู้บริหาร และผู้ออกแบบโครงการ เห็นทุกอย่างทั้งหมด ก่อนการก่อสร้าง ทำให้เราพบปัญหาและแก้ไขก่อนสร้างได้อย่างสมบูรณ์