BIM in Automatic Parking System
ปัจจุบันอาคารสูง และอาคารขนาดใหญ่ มองระบบจอดรถอัตโนมัติ เป็นตัวเลือกมากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยให้ได้พื้นที่ขายตาม FAR กลับมา ช่วยเพิ่ม Efficiency ในการออกแบบ และ ยังช่วยเพิ่มมูลค่าของโครงการในแง่ของการตลาดอีกด้วย

เจ้าของโครงการเมื่อต้องเลือกเจ้า Autopark เข้ามาในโครงการในปัจจุบัน นอกจากเรื่องราคา คุณสมบัติ และระบบประกอบต่างๆ แล้ว ยังต้องคำนึงถึง การประสานงานแบบ 3 มิติ (3D Drawing Coordination) เข้ามาด้วย พอมาถึงเรื่องนี้ BIM นับเป็นเครื่องมือที่ช่วยได้อย่างดี

ผู้รับเหมางานระบบจอดรถอัตโนมัติ จำเป็นต้องมีความเข้าใจในมิติการออกแบบของสถาปนิก และวิศวกรรมที่ประสานกัน ในขณะเดียวกัน ยังต้องใส่เทคนิคของที่จอดรถแต่ละชนิด

อาคารมีการออกแบบในพื้นที่ที่ต่างกันไป ทำให้อาคารเปลี่ยนแปลงรูปร่าง และ ฟังก์ชั่นการใช้งาน ไม่ใช่ทุกระบบจอดรถที่เหมาะกับทุกฟังก์ชั่นการใช้งานของอาคาร แต่ด้วยการแข่งขันที่ค่อนข้างสูง และ unit rate ที่คำนวณได้ง่าย หลายๆ เจ้าใช้การนำเข้าจากต่างประเทศ แข่งขันด้านราคา ปัญหาก็คือ การบอกว่า ทำได้ และเหมาะสมกับโครงการ เป็นการอ้างอิงโดยประสบการณ์เท่านั้น จะมีหลักฐานที่น่าสนใจ ก็คือการพาเจ้าของโครงการในอนาคต ไปดูงานที่เสร็จแล้ว ซึ่งก็ไม่ได้มีการเปิดเผยกลไก และความลำบากต่อการได้มา เจ้าของโครงการจึงพบกับความยากลำบากหลังจากนั้นไม่น้อย

ผู้เขียน อยากใช้พื้นที่นี้ในการบอกเล่าประสบการณ์การ Combine BIM กับงานระบบจอดรถอัตโนมัติ ซึ่งหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับเจ้าของโครงการ ที่กำลังมองหาสิ่งที่เหมาะกับโครงการ

LOD ของระบบจอดรถอัตโนมัติ ควรเป็นอย่างไร
ยังไม่มีการให้แนวทางที่แน่ชัดใน BIM Forum เกี่ยวกับระบบจอดรถอัตโนมัติ และคิดว่าต่อไปคงไม่มี สุดท้าย การกำหนด LOD และ model ownership จะมาจากผู้ออกแบบงานจอดรถอัตโนมัติทั้งหมด ทีนี้ พอไม่ใส่มาในโมเดล ก็จะไม่ทราบว่า เท่าไรจึงจะครบถ้วน ทำให้ต้องมีมาตรฐานที่ประกอบ ในปัจจุบัน Brand ก็มักจะมีมากขึ้นเรื่อยๆ ระบบจะถูกพัฒนาเพื่อตอบโจทย์การออกแบบอสังหาฯ ของบ้านเราไปด้วยเช่นกัน

โมเดลระบุตำแหน่งและ Load เพื่อให้งานโครงสร้าง (Structural Engineer) สามารถคำนวณได้
ผู้ออกแบบงานโครงสร้างจำเป็นต้อง “เผื่อโหลด” ในแต่ละตำแหน่งของงานโครงสร้างที่จะ Support  ไม่ว่าจะเป็น งานฝาก หรือว่ารับน้ำหนักโดยตรง หากไม่ได้มีการเผื่อตามแต่ละตำแหน่งไว้ การแก้แบบโครงสร้าง อาจทำให้เกิดปัญหาซ้ำซ้อน โครงสร้างขนาดใหญ่ขึ้น

Clearance ของรถแต่ละชนิดที่แม่นยำ
Programming ของโครงการมีการกำหนดความต้องการไว้อยู่แล้วในการจะจุรถแต่ละชนิด ไม่ว่าจะเป็น Van, Sedan หรือแม้กระทั่ง SUV ก็ตาม ซึ่งมีขนาดและความต้องการพื้นที่ที่ต่างกัน ส่ิงเหล่านี้ควรกำหนดแต่ต้น และเป็นการช่วยโครงการในการ recheck จำนวนของที่จอดรถอัตโนมัติว่าเป็นไปตาม project Requirement อยู่ตลอดหรือไม่อีกด้วย

งานระบบประกอบอาคาร อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
งานระบบไฟฟ้าเป็นส่วนที่มีบทบาทไม่น้อยกับงานออกแบบ ตำแหน่งของ ตู้โหลด และจุดที่ต้องเดินงาน main ไฟฟ้าไปเลี้ยงระบบนั้น เป็นจุดที่ Clash กันบ่อยมากๆ กับ ถาดส่งรถ หรือแม้กระทั่งบางยี่ห้อ ที่มีการใส่ตู้โหลดสำหรับลิฟท์ ไว้ที่ lift pit ก็ต้อง combine ระดับน้ำท่วมสูงสุดเข้าไปด้วย เพื่อป้องกันความเสียหาย และระบบยังคงทำงานได้เมื่อ มีการรั่ว ของท่อน้ำในอาคาร

งานระบบ Fire protection กับกลยุทธ์การประสาน ตำแหน่ง Spinkler เข้ากับโครงสร้างของระบบจอดรถอัตโนมัติ
Upright คือรูปแบบของหัว Spinkler ที่พบมากที่สุดในการออกแบบ ท่อระบบนี้ต้องการ Clearheight อย่างน้อย 20 cm จากท้องพื้น ซึ่งโดยปกตินั้น โมเดลของงานนี้มักจะมาทีหลัง ทำให้การ Combine เกิดขึ้นช้า กว่าจะรู้อีกที ก็แก้ยากแล้ว เนื่องจากต้องมีการเผื่อมาตั้งแต่ช่วง Design Development ดังนั้น หากผู้ออกแบบมีกลยุทธ์ในจุดนี้ที่ดี ในการ merge ระบบเข้าไปแต่เริ่ม จะลดเวลาได้เยอะมาก

บทสรุป
ยังมีอีกหลายเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนเกี่ยวกับงานระบบจอดรถอัตโนมัติ ที่การทำ Clash Detection สามารถช่วยได้ ด้วยความพร้อมของ HOOK BIM Team ที่มีประสบการณ์และความชำนาญด้านนี้ มากกว่าสิบโครงการ  เรามั่นใจว่าจะสามารถใช้ BIM ช่วยให้โครงการของท่านราบรื่น ได้อย่างแน่นอน

WRITER
thongchad chinasi
Managing Director
Smart City Innovation ในมุมมองของ CIC; Construction Industry Council : Hong Kong...
Jun 13, 2024
ISO 19650 เป็นมาตรฐานสำหรับการจัดการข้อมูล ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ ของโมเดล ที่สร้าง...
Jun 13, 2024
หากเจ้าของโครงการมีการใช้กระบวนการ BIM อย่างเป็นปกติอยู่แล้ว บทความนี้จะเป็นแนวท...
Jan 21, 2024
Clash detection process ในอาคาร CUP (Central Utility Plant) ที่จริงๆ แล้วประเภทอ...
Jan 20, 2024
ISO19650 เป็นมาตรฐานระดับสากล ที่ให้แนวทางในการจัดการข้อมูลตลอดวงจรการก่อสร้างโ...
Jan 17, 2024
Most Popular
ISO19650 เป็นมาตรฐานระดับสากล ที่ให้แนวทางในการจัดการข้อมูลตลอดวงจรการก่อสร้างโครงการโดยใช้ Building Information Modeling (BIM), ISO 19650 ประกอบด้วย 2 ส่วน : ISO 19650-1 และ ISO 19650-2.