ความสำคัญของการใช้ BIM Model ในงาน Built-in Furniture และงาน Casework
Condominium เป็นอาคารขนาดใหญ่ ที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายในการใช้สอยพื้นที่ และ option ต่างๆ ที่ติดตั้งมากับตัวห้องพัก และการบริหารพื้นที่ที่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นตู้เสื้อผ้า ชุดครัว และงาน เฟอร์นิเจอร์ Built in ต่างๆ การออกแบบด้วยผู้ออกแบบชั้นนำ ตามยุคตามสมัย และ เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีอย่างจำกัด นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกซื้อห้องจากผู้ซื้อส่วนใหญ่ไปแล้ว
Condominium เป็นอาคารขนาดใหญ่ ที่มุ่งเน้นความสะดวกสบายในการใช้สอยพื้นที่ และ option ต่างๆ ที่ติดตั้งมากับตัวห้องพัก และการบริหารพื้นที่ที่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ว่าจะเป็นตู้เสื้อผ้า ชุดครัว และงาน เฟอร์นิเจอร์ Built in ต่างๆ การออกแบบด้วยผู้ออกแบบชั้นนำ ตามยุคตามสมัย และ เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีอย่างจำกัด นับเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการเลือกซื้อห้องจากผู้ซื้อส่วนใหญ่ไปแล้ว
----
HOOK - BIM TEAM สร้างมาตรฐานให้มีการ Combine BIM Model งาน Built-IN furniture
ด้วยระบบ Clash Detection ก่อนการก่อสร้างทุกครั้ง
----
และโดยส่วนใหญ่ งาน Furniture ที่ช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับห้องเหล่านี้ ต้องมีการประสานกับงานระบบประกอบอาคาร M&E Engineeing Integration อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ที่พบ และนิยมนำเทคโนโลยี Modeling เข้ามาประสานก่อนการก่อสร้าง (Pre-Construction) นั้นได้แก่
งานระบบสุขาภิบาล - Sanitary Engineering System
ที่ต้องรับน้ำเสียจากทั้ง sink (Waste) และเครื่องซักผ้า (Laundry Work) ที่มักจะถูกออกแบบผสานมากับชุดครัว ของห้องพักอยู่แล้ว โดยปกติ ท่อรับน้ำขนาด 2-3 นิ้วที่มีนั้น ก็มักจะต้อง มีการติดตั้งอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อที่จะได้ Slope ของงานท่อ ที่สามารถ ระบายน้ำไปสู่เมนท่อหลักที่ ช่องท่อ (Riser Shaft)ได้ตามมาตรฐานทางวิศวกรรม
งานระบบระบายอากาศ - Air Ventilation System
เป็นที่แน่นอนว่า หากมีการปรุงอาหาร งานระบบระบายอากาศแบบใช้เครื่องกล (Active Ventilation) จำเป็นอย่างยิ่ง ได้แก่ เครื่องดูดควัน ซึ่งในตอนนี้เอง ก็จำเป็นต้องมีท่อที่สามารถระบายควันหรือกลิ่นอาหาร ออกจากห้องพักได้ทันที
งานระบบไฟฟ้า - Electrical Engineering
ไฟฟ้ากำลัง (Power) เข้ามาที่ห้องและเริ่มแจกจ่าย ให้เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ในห้องพักนั้น สิ่งหนึ่งที่ถูกซ่อนไว้ในชุดครัว และสำคัญอย่างยิ่งคือ Consumer Unit ซึ่งต้องการพื้นที่ทั้งตัวเครื่องเอง และสายไฟหลายขนาดหลายเส้น ที่เรียงกันมาตามเส้นท่อ Conduit ทั้งนี้ ต้องพ้นมือเด็ก และง่ายต่อการบำรุงรักษาในคราวเดียวกัน
ชุดครัวปัจจุบันมีการฝากเต้ารับ (Power Outlet) ตามฟังก์ชั่นการใช้งานของยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ดังนั้น ชุดครัว และตู้ Casework Furniture เหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีท่อร้อยสายอยู่ทั้งด้านบน และด้านหลัง
งานระบบไฟฟ้าสื่อสาร และ iOT System
นอกจากนั้น เฟอร์นิเจอร์ชุดนี้ ยังมีการเก็บ Communication เช่น โทรศัพท์บ้าน และ Internet Router เอาไว้ด้วย ซึ่งในการออกแบบก็ต้องคำนึงถึงตำแหน่ง และรัสมีการกระจายสัญญาณ ในกรณี Wifi ซึ่งในปัจจุบัน มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย และที่แน่นอนอุปกรณ์ iOT ก็เช่นกัน
การขึ้นชิ้นงานเฟอร์นิเจอร์เหล่านี้ใน 3 มิติยังต้องกำหนดให้มี Operation ไว้ด้วยเช่นกัน เช่น ทิศทางการ Swing ของบาน เพื่อให้ผู้ออกแบบ และเจ้าของโครงการได้เห็นว่าการใช้งานยังคงเป็นไปได้อยู่หรือไม่ ส่งผลไปถึงคุณภาพชีวิตที่ดีของลูกค้าที่อาศัยอยู่ในยูนิตนั้นๆ ศรีษะกระแทกกับบานตู้ เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยกับผู้พักอาศัย
อย่างไรก็ดี งานแบบเหล่านี้ มักจะมีต้นทางจากผู้ออกแบบตกแต่งภายใน (Interior Desiger) และให้ผู้รับเหมางานพิเศษ (Special work) เป็นผู้ถอดแบบและจัดทำเพื่อนำมาติดตั้งอีกที (Part - Pre-Fablication and Installation) ดังนั้น กว่าจะได้ Combine งานเหล่านี้ก็ล่วงเลยไปถึงหน้างานแล้ว ดังนั้น การจัดทำตั้งแต่ช่วงก่อนการ ก่อสร้าง ด้วย BIM Model นับเป็นประโยชน์ต่อโครงการอย่างยิ่ง ที่ HOOK มี Production ทีมเพื่อช่วยให้เรื่องเหล่านี้ง่ายขึ้น และเกิดประโยชน์ต่อทุกฝ่าย ด้วย Interior BIM Modeling by HOOK ขอฝากทุกท่านไปเยี่ยมชม